wassana thodthaisong
วันอังคารที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2555
วันศุกร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2555
มารู้จักกับประโยคยอดนิยมค่ะ
| |||||||||||
| |||||||||||
|
วันอังคารที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2555
Noun
Nouns ( คำนาม )
|
คำนาม ( Nouns ) หมายถึงคำที่ใช้เรียกคน สัตว์ สิ่งต่างๆ สถานที่ คุณสมบัติ สภาพ อาการ การกระทำ ความคิด ความรู้สึก ทั้งที่มีรูปร่างให้มองเห็น และไม่มีรูปร่าง การแบ่งคำนามสามารถจำแนกได้หลายแบบแล้วแต่ตำรา เท่าที่รวบรวมนำเสนอในที่นี้มี 4 แบบ คือแบบที่ 1 แบ่งคำนามเป็น 2 ประเภทซึ่ง ใน 7 ประเภทนี้ 3 ประเภทสุดท้ายได้แก่ material nouns, concrete nouns และ mass nouns อาจจัดอยู่ในกลุ่ม common nouns ได้ดังนี้ |
2 ประเภท
|
3 ประเภท
|
4 ประเภท
|
7 ประเภท
|
Common Nouns Proper Nouns | Common Nouns Proper Nouns Abstract Nouns | Common Nouns Proper Nouns Abstract Nouns Collective Nouns | 1. Common Nouns 2. Proper Nouns 3. Abstract Nouns 4. Collective Nouns 5. Material Nouns 6. Concrete Nouns 7. Mass Nouns |
1.Common Noun (นามทั่วไป)
เป็นคำนามที่ใช้เรียกคน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ทั่วๆไป ความคิด ( person, animal, place, thing, idea ) โดยไม่เฉพาะเจาะจง กล่าวโดยสรุปคือ คำนามทั้งหลายที่ไม่ใช่ proper nouns คือ common nouns เช่น
- Common Nouns เป็นได้ทั้ง นามนับได้ (Countable) และนามนับไม่ได้ ( Uncountable )
Countable Nouns ( นามนับได้ ) สามารถอยู่ทั้งในรูปเอกพจน์หรือพหูพจน์
มีตัวตน เช่น dog, man, coin , note, dollar, table, suitcase
ไม่มีตัวตน เช่น day, month, year, action, feeling
Uncountable Nouns (นามนับไม่ได้ ) หรือ Mass Nouns อยู่ในรูปเอกพจน์ เท่านั้น
มีตัวตน เช่น furniture, luggage, rice, sugar , water ,gold
ไม่มีตัวตน เช่น music, love, happiness, knowledge, advice , information
สิ่งของ boy, sign, table, hill, water, sugar, atom, elephant
สถานที่ city, hill, road, stadium, school,company
เหตุการณ์ revolution, journey, meeting
ความรู้สึก fear, hate, love
เวลา year, minute, millennium
Common countable
|
Common uncountable
| |||
indefinite(ไม่เจาะจง)
|
definite(เจาะจง)
|
indefinite(ไม่เจาะจง)
|
definite(เจาะจง)
| |
Singular
|
a cow
|
the cow
|
milk
|
the milk
|
plural
|
cows
|
the cows
|
-
|
-
|
- Common Nouns จะไม่ขึ้นต้นด้วยตัวใหญ่ ( Capital letter ) ยกเว้นเป็นคำขึ้นต้นของประโยค ตัวอย่างTher are many children on the beach. Children love to swim.
- เป็นคำนามที่เป็นชื่อเฉพาะของ Common Noun เช่น
ชื่อคน (Person Name) เช่น Somsak , Tom, Daeng
ชื่อสถานที่ ( Place Name) เช่น Australia,Bangkok,Sukhumvit Road, Toyota
ชื่อบอกระยะเวลา (Time name ) เช่น Saturday, January, Christmas
- Proper Nouns จะต้องเขียนขึ้นต้นด้วยตัวใหญ่ ( Capital letter )
- Proper Nouns ปกติจะไม่มี determiner นำหน้า นอกจากอยู่ในรูปของพหูจน์ เช่น the Jones ( ครอบครัวโจนส์ )
the United States, the Himalayas
แต่อย่างไรก็ดีมีข้อยกเว้นของคำนามที่ไม่ได้อยู่ในรูปพหูพจน์ เช่น The White House, the Sahara ( ทะเลทราย ),
the Pacific ( Ocean ), the Vatican, the Kremlin ( ดูรายละเอียดจากเรื่องการใช้ articles – the )
- เปรียบเทียบระหว่าง common nouns และ proper nouns
Common Nouns | Proper Nouns |
dog | Lassie ( ชื่อของสุนัข ) |
boy | Jack ( ชื่อของเด็กชาย) |
car | Toyota ( ชื่อยี่ห้อรถ ) |
month | January ( ชื่อของเดือน) |
road | Sukhumvit ( ชื่อถนน ) |
university | Chulalongkorn ( ชื่อมหาวิทยาลัย) |
ship | U.S.S. Enterprise ( ชื่อเรือ ) |
country | Thailand (ชื่อประเทศ ) |
คำนามประเภทอื่นมีคำอธิบายดังนี้
3.Abstract Nouns
เป็นคำนามของสิ่งที่ไม่มีรูปร่าง ไม่สามารถสัมผัสได้ด้วยประสาททั้ง 5 ( touch- สัมผัสได้, sight-มองเห็นได้, taste-ชิมได้ , hearing- ได้ยิน, smell- ได้กลิ่น ) เป็นนามที่บอกลักษณะ สภาวะ อาการ เมื่อแปลเป็นภาษาไทยมักจะมีคำว่า ความ การนำหน้าอยู่ด้วยรวมทั้งชื่อศิลปวิทยาการต่างๆAbstract Nouns จะมีที่มาจากคำกริยา ( verb) ,คำคุณศัพท์ ( adjective) และ คำนาม ( noun) ด้วยกันเองบ้าง เช่น
Abstract Nouns ที่มาจากคำกริยา | Abstract Nouns ที่มาจากคำคุณศัพท์ | Abstract Nouns ที่มาจากคำนาม |
decision - to decide | beauty - beautiful | infancy - infant |
thought - to think | poverty - poor | childhood - child |
Imagination - to imagine | vacancy - vacant | friendship - friend |
speech - to speak | happiness - happy | |
growth - to grow | wisdom - wise |
4.Collective Nouns
เป็นคำนามของสิ่งที่เป็นหมวดหมู่ กลุ่มของคน สัตว์ สิ่งของ เช่น family , class, company, committee, cabinet, audience, board, group, jury, public, society, team, majority orchestra, party เป็นต้นรวมทั้ง a flock of birds, a herd of cattle ,a fleet of ships เป็นต้น อาจจะใช้คำกริยารูปของเอกพจน์หรือพหูพจน์ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ในการใช้ ว่าต้องการให้เป็นหนึ่งเดียวหรือเป็นแต่ละส่วน แต่คำนามยังเป็นรูปเดิม เปลี่ยนแต่รูปกริยา เช่นเอกพจน์ : The average British family has 3.6 members.
ครอบครัวชาวอังกฤษ (ครอบครัวหนึ่ง ) มีสมาชิกโดยเฉลี่ย 3.6 คน
พหูพจน์: The family are always fighting among themselves. ครอบครัวนี้มักจะทะเลาะกันเอง
( ประโยคนี้มีความหมายว่าสมาชิกในครอบครัวต่างทะเลาะกันเองทั้งครอบครัว จึงใช้กริยาเป็นพหูพจน์ )
เอกพจน์: The committee has reached its decision. คณะกรรมการได้ผลการตัดสินใจ
( ของคณะกรรมการรวมกันทั้งคณะ)
พหูพจน์: The committee have been arguing all morning over what they should do.
คณะกรรมการเถียงกันตลอดทั้งเช้าว่าควรจะทำ อะไร
( กรรมการแต่ละคนนับเป็น 1 หน่วย ทั้งคณะจึงเป็นพหูพจน์ )
Collective noun บางคำมีความหมายเป็นพหูพจน์เท่านั้น เช่น people, police, cattleนอกจากนี้ยังมีรูปแบบ คำวลีผสมด้วย of เพื่อเน้นให้ความเป็นหมู่หรือคณะให้ชัดเจนขึ้น รูปแบบคือ Collective noun + of + commonnoun ตัวอย่างเช่น
a flock of birds | a group of students |
a flock of sheep | a pack of cards |
a herd of cattle | a bunch of flowers |
a fleet of ships | a kilo of pork |
5.Concrete Nouns
เป็นคำนามของสิ่งที่มีรูปร่างสามารถสัมผัสได้ด้วยประสาททั้ง 5 ( touch- สัมผัสได้, sight-มองเห็นได้, taste-ชิมได้ , hearing- ได้ยิน, smell- ได้กลิ่น ) เช่น book , chair, water, oil , ice cream เป็นทั้งนามนับได้ และนับไม่ได้ มีลักษณะตรงกันข้ามกับ abstract nouns.
6.Material Nouns
- เป็น common nouns ชนิดหนึ่งซึ่งมีรูปร่าง อยู่รวมกันเป็นกลุ่มก้อน แต่นับไม่ได้ เช่น
ธาตุ: iron, gold, air, copper
สารธรรมชาติ, สังเคราะห์: stone, cotton, brick, paper, cloth
ของเหลวต่างๆ: water, coffee, wine, tea, milk
อาหาร: rice, bread, sugar, pork, fish, butter, fruit, salad - แสดงความมากน้อยด้วยปริมาณ (quantity) เช่น
a bowl of rice two boxes of cereal five bottles of beer a cup of tea three bars of soap | two glasses of water a loaf of bread a slice of pizza a piece of paper a quart of milk |
แต่ในการใช้ material nouns ส่วนมากจะพูดสั้นๆ เช่น ในประโยคเกี่ยวกับ tea ( ชา )
พูดในร้านอาหาร : I want some tea. ฉันขอชาหน่อยใ( ในที่นี้หมายถึง I want a cup of tea. )
พูดในซูเปอร์มาร์เก็ต: I want some tea. ในที่นี้ผู้พูดหมายถึง I want a packet of tea.
พูดในร้านอาหารซึ่งมีชาหลายชนิด หลายยี่ห้อให้เลือก เช่น ชาจีน ชาเขียว ชาญี่ปุ่น ชาอู่หลง เป็นต้น :
I like their teas. หมายถึง I like their selection of teas. ( ฉันชอบชาหลากหลายชนิดที่มีให้เลือกของร้าน )
7,Mass nouns
เป็นคำนามสิ่งของที่นับไม่ได้ ทั้งมี และไม่มีตัวตน ( uncountable nouns และ abstract nouns ) เช่น sugar, iron , butter, beer, money, blood, furniture, vehicle, courage,gratitude, mercy , accuracy มีลักษณะดังนี้ คือ
- จะไม่อยู่ในรูปพหูพจน์
- ไม่ใช้ a , an , the นำหน้า ถ้าใช้เป็นการทั่วไป determiners ที่ใช้นำหน้าคือ some และ any เช่น
Blood is thicker than water. เลือดข้นกว่าน้ำ ( uncountable )
Depression often affects women immediately following the birth of their babies
ผู้หญิงมักมีอาการซึมเศร้าตามมาหลังคลอดบุตรทันที ( abstract nouns )
He dropped some money on the floor. เขาทำเงินหล่นลงบนพื้น
หมายเหตุ
* บางตำรา mass nouns คือmaterial nouns + concrete nouns และแยก abstract nouns ออกเป็น nouns อีกประเภทหนึ่ง *คำนามบางคำตามความคิดของคนไทยน่าจะเป็นสิ่งของที่นับได้เช่น furniture, luggage ,equipment, money แต่ในภาษาอังกฤษ จะมองเป็นของที่นับไม่ได้ จะนับได้ต่อเมื่อแยกเป็นส่วนย่อย เช่น furniture แยกเป็น table, chair เป็นต้น
* บางตำรา mass nouns คือmaterial nouns + concrete nouns และแยก abstract nouns ออกเป็น nouns อีกประเภทหนึ่ง *คำนามบางคำตามความคิดของคนไทยน่าจะเป็นสิ่งของที่นับได้เช่น furniture, luggage ,equipment, money แต่ในภาษาอังกฤษ จะมองเป็นของที่นับไม่ได้ จะนับได้ต่อเมื่อแยกเป็นส่วนย่อย เช่น furniture แยกเป็น table, chair เป็นต้น
หากสรุปโดยคิดว่าคำนามมี 7 ประเภท การแยกกลุ่มจะเป็นไปตามตารางข้างล่างนี้ โดยตัวอย่างในบางคำนามจะซ้ำกับในคำนามอื่น เช่น water จะเป็นทั้ง concrete nouns และ material nouns และ honesty เป็นทั้ง mass nouns และ abstract nouns
Nouns
|
ประเภทคำนาม
|
ประเภทย่อย
|
ประเภทย่อย
|
ตัวอย่าง
|
Proper nouns
| John, London | |||
Common nouns
|
Countable nouns
| |||
Concrete
| chair,book,student | |||
Collective nouns
| two flocks of birds ,people | |||
Uncountable Nouns
| ||||
Concrete nouns
| ice cream,oil,water | |||
Mass Nouns
| furniture,money,honesty | |||
Material nouns
| water,bread,oxygen,gold | |||
Abstract nouns
| honesty, friendship,honesty |
ตาราง การใช้ articles นำหน้าคำนาม ซึ่งในที่นี้เป็นหลักทั่วไปไม่รวมข้อยกเว้นต่างๆ (ดูรายละเอียดข้อยกเว้นได้ในเรื่อง Articles )
Common Nouns
|
Proper Nouns
| |||||
Countable Nouns
|
Uncountable Nouns
|
Singular
|
Plural
| |||
Singular
|
Plural
|
Singular
|
Plural
|
ไม่มี article
(John) |
the
(the Jones) | |
ชี้เฉพาะ
(definite ) |
the
(the boy ) |
the
(the boys) |
the
(the water ) |
-
| ||
ไม่เฉพาะ
(indefinite ) |
a/an
(a tiger) |
ไม่มี article
( tiger) |
ไม่มี article
(water) |
-
|
-
|
วันพุธที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2555
แทรกนิดนึงค่ะ
ความเสี่ยงที่สุด คือการไม่กล้าเสี่ยงเลย
The biggest risk is not to take the risk at all
ราอูล กราเซีย บราโว
The biggest risk is not to take the risk at all
ราอูล กราเซีย บราโว
อักษรน่ารุ้
ตารางเทียบเสียงพยัญชนะ
ตารางเทียบเสียงสระ
พยัญชนะไทย | อักษรโรมัน | ตัวอย่าง | |
ตัวต้น | ตัวสะกด | ||
ก | k | k | กา = ka , นก = nok |
ข ฃ ค ฅ ฆ | kh๑ | k | ขอ = kho , สุข = suk , โค = kho , ยุค = yuk , ฆ้อง = khong , เมฆ = mek |
ง | ng | ng | งาม = ngam , สงฆ์ = song |
จ ฉ ช ฌ | ch๒ | t | จีน = chin , อำนาจ = amnat , ฉิ่ง = ching , ชิน = chin , คช = khot , เฌอ = choe |
ซ ทร(เสียง ซ) ศ ษ ส | s | t | ซา = sa , ก๊าซ = kat , ทราย = sai , ศาล = san , ทศ = thot , รักษา = raksa , กฤษณ์ = krit , สี = si , รส = rot |
ญ | y | n | ญาติ = yat , ชาญ = chan |
ฎ ฑ (เสียง ด) ด | d | t | ฎีกา = dika , กฎ = kot , บัณฑิต = bandit , ษัฑ = sat , ด้าย = dai , เป็ด = pet |
ฏ ต | t | t | ปฏิมา = patima , ปรากฏ = prakot , ตา = ta , จิต = chit |
ฐ ฑ ฒ ถ ท ธ | th๑ | t | ฐาน = than , รัฐ = rat , มณฑล = monthon , เฒ่า = thao , วัฒน์ = wat , ถ่าน = than , นาถ = nat , ทอง = thong , บท = bot , ธง =thong , อาวุธ = awut |
ณ น | n | n | ประณีต = pranit , ปราณ = pran , น้อย = noi , จน = chon |
บ | b | p | ใบ = bai , กาบ = kap |
ป | p | p | ไป = pai , บาป = bap |
ผ พ ภ | ph๑ | p | ผา = pha , พงศ์ = phong , ลัพธ์ = lap , สำเภา = samphao , ลาภ = lap |
ฝ ฟ | f | p | ฝั่ง = fang , ฟ้า = fa , เสิร์ฟ = soep |
ม | m | m | ม้าม = mam |
ย | y | - | ยาย = yai |
ร | r | n | ร้อน = ron , พร = phon |
ล ฬ | l | n | ลาน = lan , ศาล = san , กีฬา = kila , กาฬ = kan |
ว | w | - | วาย = wai |
ห ฮ | h | - | หา = ha , ฮา = ha |
หมายเหตุ :: ๑. ในทางสัทศาสตร์ ใช้ h เป็นตัวสัญลักษณ์เพื่อแสดงลักษณะเสียงธนิต (เสียงที่กลุ่มลมพุ่งตามออกมาในขณะออกเสียง) h ที่ประกอบหลัง k p t จึงเป็นไปตามหลักเกณฑ์ทางสัทศาสตร์ดังนี้ | |
k แทนเสียง ก เพราะเป็นเสียงสิถิล (เสียงที่ไม่มีกลุ่มลมพุ่งออกมาในขณะออกเสียง) kh จึงแทนเสียง ข ฃ ค ฅ ฆ เพราะเป็นเสียงธนิต p แทนเสียง ป ซึ่งเป็นเสียงสิถิล ph จึงแทนเสียง ผ พ ภ เพราะเป็นเสียงธนิต ไม่ใช่แทนเสียง ฟ t แทนเสียง ฏ ต ซึ่งเป็นเสียงสิถิล th จึงแทนเสียง ฐ ฑ ฒ ถ ท ธ เพราะเป็นเสียงธนิต | |
๒. ตามหลักสัทศาสตร์ ควรใช้ c แทนเสียง จ ซึ่งเป็นเสียงสิถิล และ ch แทนเสียง ฉ ช ฌ ซึ่งเป็นเสียงธนิต ดังที่ใช้กันในภาษาบาลี-สันสกฤต เขมร ฮินดี อินโดนีเซีย และภาษาอื่น ๆ อีกหลายภาษแต่ที่มิได้แก้ไขให้เป็นไปตามหลักสัทศาสตร์ เนื่องจากเกรงว่าจะทำให้ไข้วเขวกับการสะกดและออกเสียงตัว c ในภาษาอังกฤษซึ่งคนไทยมักใช้แทนเสียง ค หรือ ซ ตัวอย่างเช่น จน/จิต หากเขียนตามหลักสัทศาสตร์เป็น con/cit ก็อาจจะออกเสียงตัว c เป็นเสียง ค ในคำว่า con และออกเสียง ช ในคำว่า cit ดังนั้นจึงยังคงใช้ ch แทนเสียง จ ตามที่คุ้นเคย เช่น จุฬา = chula , จิตรา = chittra |
ตารางเทียบเสียงสระ
สระ | อักษรโรมัน | ตัวอย่าง |
อะ , -ั (อะ ลดลรูป) , รร (มีตัวสะกด) , อา | a | ปะ = pa , วัน = wan , สรรพ = sap , มา =ma |
รร (ไม่มีตัวสะกด) | an | สรรหา = sanha , สวรรค์ = sawan |
อำ | am | รำ = ram |
อิ , อี | i | มิ = mi , มีด = mit |
อึ , อื | ue๑ | นึก = nuek , หรือ = rue |
อุ , อู | u | ลุ = lu , หรู = ru |
เอะ , เ-็ (เอะ ลดรูป) , เอ | e | เละ = le , เล็ง = leng , เลน = len |
แอะ , แอ | ae | และ = lae , แสง = saeng |
โอะ , - (โอะ ลดรูป) , โอ , เอาะ , ออ | o | โละ = lo , ลม = lom , โล้ = lo , เลาะ = lo , ลอม = lom |
เออะ , เ- ิ (เออะ ลดรูป) , เออ | oe | เลอะ = loe , เหลิง = loeng , เธอ = thoe |
เอียะ , เอีย | ia | เผียะ = phia , เลียน = lian |
เอือะ , เอือ | uea๒ | - * , เลือก = lueak |
อัวะ , อัว , - ว- (อัว ลดรูป) | ua | ผัวะ = phua , มัว = mua , รวม = ruam |
ใอ , ไอ , อัย , ไอย , อาย | ai | ใย = yai , ไล่ = lai , วัย = wai , ไทย = thai, สาย = sai |
เอา , อาว | ao | เมา = mao , น้าว = nao |
อุย | ui | ลุย = lui |
โอย , ออย | oi | โรย = roi , ลอย = loi |
เอย | oei | เลย = loei |
เอือย | ueai | เลื้อย = lueai |
อวย | uai | มวย = muai |
อิว | io๓ | ลิ่ว = lio |
เอ็ว , เอว | eo | เร็ว = reo , เลว = leo |
แอ็ว , แอว | aeo | แผล็ว = phlaeo , แมว = maeo |
เอียว | iao | เลี้ยว = liao |
ฤ (เสียง รึ) , ฤา | rue | ฤษี , ฤาษี = ruesi |
ฤ (เสียง ริ) | ri | ฤทธิ์ = rit |
ฤ (เสียง เรอ) | roe | ฤกษ์ = roek |
ฦ , ฦา | lue | - * , ฦาสาย = luesai |
หมายเหตุ :: ๑. ตามหลักเดิม อึ อื อุ อู ใช้ u แทนทั้ง ๔ เสียง แต่เพื่อแยกความแตกต่างระหว่างเสียง อึ อื กับ อุ อู จึงใช้ u แทน อุ อู และใช้ ue แทน อึ อื |
๒. ตามหลักเดิม เอือะ เอือ อัวะ อัว ใช้ ua แทนทั้ง ๔ เสียง แต่เพื่อแยกความแตกต่างระหว่างเสียง เอือะ เอือ กับ อัวะ อัว จึงใช้ ua แทน อัวะ อัว และ uea แทน เอือะ เอือ เพราะ เอือะ เอือ เป็นสระประสมซึ่งประกอบด้วยเสียง อึ หรือ อื (ue) กับเสียง อะ หรือ อา (a) |
๓. ตามหลักเดิม อิว ใช้ iu และเอียว ใช้ ieu แต่เนื่องจากหลักเกณฑ์นี้เสียงที่มี ว ลงท้ายและแทนเสียงด้วย o ซึ่งได้แก่ เอา อาว (ao) , เอ็ว เอว (eo) , แอ็ว แอว (aeo) ดังนั้นเพื่อให้เป็นไปในทำนองเดียวกัน อิว ซึ่งเป็นเสียง อิ กับ ว จึงแทนด้วย i + o คือ io ส่วนเสียง เอียว ซึ่งมาจากเสียง เอีย กับ ว จึงแทนด้วย ia + o เป็น iao |
* ไม่มีคำประสมด้วยสระเสียงนี้ในภาษาไทย |
วันอังคารที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2555
กริยา3ช่อง
คำกริยา 3 ช่องคืออะไรเหรอ?
มันก็คือ กริยาตัวเดียว ที่สามารถแปลงร่างได้สามตัว ทำให้คนเรียนปวดหัวเล่น ๆ แค่นั้นเอง ไม่เชื่อก็ลองดูตัวอย่างที่เอามาให้ดูสิ ทำไมต้องมีถึงสามช่องก็ไม่รู้เน๊อะ ช่องเดียวก็จำไม่หมดอยู่แล้ว
แต่ความจริงแล้วมันมีตั้ง 5 ช่องนะ ไม่เชื่อก็ดูตัวอย่าง
go | goes | going | went | gone |
ตัวที่หนึ่งคือกริยาเดิมๆ เรียกว่าช่อง 1 ตัวต่อมาเติม s ตัวต่อมาเติม ing และช่อง 2 ช่อง 3 ตามลำดับ
แต่ว่าการเติม s และ ing นั้นมีหลักการอยู่จึงไม่รวมอยู่ในนี้ ไว้เรียนเรื่อง Tense จะรู้เอง
สาเหตุที่มีสามช่องก็คือว่า คำกริยาเหล่านี้มันเกี่ยวเนื่องกับนำไปใช้ เมื่อเรียนรู้เรื่อง Tense ทั้ง 12 จะได้เข้าใจง่ายขึ้น เขาก็เลยนำมาจัดเป็นหมวดหมู่ให้ได้เลือกใช้ง่าย ๆ สำหรับคนที่เรียนหลักภาษา
แต่ว่าการเติม s และ ing นั้นมีหลักการอยู่จึงไม่รวมอยู่ในนี้ ไว้เรียนเรื่อง Tense จะรู้เอง
สาเหตุที่มีสามช่องก็คือว่า คำกริยาเหล่านี้มันเกี่ยวเนื่องกับนำไปใช้ เมื่อเรียนรู้เรื่อง Tense ทั้ง 12 จะได้เข้าใจง่ายขึ้น เขาก็เลยนำมาจัดเป็นหมวดหมู่ให้ได้เลือกใช้ง่าย ๆ สำหรับคนที่เรียนหลักภาษา
ความจริงแล้ว กริยา 3 ช่องมีเยอะมาก เข้าร้านหนังสือก็มีขายเกลี่อน แต่ไม่ต้องซื้อหรอก ในเบื้องต้นศึกษาจากที่นี่ก่อนก็เพียงพอแล้ว
กริยา 3 ช่องมี 2 ประเภทนะครับ คือ ปกติ (regular) และ อปกติ (irregular)
1. Regular Verbs กริยาปกติ คือ มันไม่เปลี่ยนรูปร่างให้ปวดหัว เพียงแค่ช่องที่ สอง กับช่องที่ 3 เติม ed ต่อท้ายแค่นั้น
2. Irregular Verbs กริยาอปกติ คือ มีการเปลี่ยนรูปร่างให้ปวดเศียรเวียนเกล้าเล่นๆ เพราะ ช่องหนึ่ง สอง สาม ไม่เหมือนกัน หรือบางทีมีสองช่องที่เหมือนกัน หรือบางทีเหมือนกันทั้งสามช่องก็มี ไม่มีกฎเกณฑ์อะไรให้จำเลย อันนี้ก็ต้องอาศัย การอ่านหนังสือภาษาอังกฤษบ่อย ๆ จะจำได้เอง เพราะจะเห็นคำเดิมๆ ซ้ำไปซ้ำมา ด้านล่างคือตัวอย่างพอเป็นพิธีนะครับ
กริยาอปกติ (Irregular Verbs) ที่ใช้บ่อย | |||
Present | Past Simple | Past Participle | ความหมาย |
be(is,am,are) | was,were | been | เป็น,อยู่,คือ |
bear | bore | born | ถือ,เกิด |
become | became | become | กลายเป็น |
begin | began | begun | เริ่มต้น |
bend | bent | bent | โค้ง งอ |
bet | bet | bet | พนัน |
bite | bit | bitten (or bit) | กัด ขบ ฉีก |
bleed | bled | bled | เลือดออก |
blow | blew | blown | พัด เป่า ตี |
bring | brought | brought | นำมา เอามา |
กริยาปกติ (Regular Verbs) ที่ใช้บ่อย | |||
Present | Past Simple | Past Participle | ความหมาย |
allow | allowed | allowed | อนุญาต |
arrive | arrived | arrived | มาถึง ไปถึง |
borrow | borrowed | borrowed | ยิม |
call | called | called | เรียก |
carry | carried | carried | ถืือ |
clean | cleaned | cleaned | ทำความสะอาด |
close | closed | closed | ปิด |
cry | cried | cried | ร้องไห้ |
dry | dried | dried | ทำให้แห้ง |
end | ended | ended | จบ สิ้นสุด |
explain | explained | explain | อธิบาย |
ค่อยๆ ศึกษาทำความเข้าใจนะครับ อยากเก่งต้องขยันอย่างเีดียว
การใช้ Article
การใช้ Article
1 Articles หมายถึง คำนำหน้านาม แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ1.1 “a” หรือ “an” เรียกว่า Indefinite Articles
1.2 “the” เรียกว่า Definite Articles
2. Indefinite Articles นำหน้านามเอกพจน์เท่านั้น ให้สังเกตคำนำหน้านามที่เป็น indefinite article ต่อไปนี้
a horse
an elephant
a car
an airplane
the Pacific
the air
จะสังเกตได้จากการใช้ a, an, the นั้น จะขึ้นอยู่การออกเสียงของคำ ซึ่งตามหลัง a, an หรือ นั้น มิใช่ขึ้นอยู่กับการสะกดคำ ดังนี้
a uniform (ไม่ใช้คำว่า an uniform) เพราะคำนี้อ่านออกเสียงตามพยัญชนะ คือ ยู
a one-eyed man (ไม่ใช้คำว่า an one eyed man) เพราะคำว่า one ออกเสียงด้วยพยัญชนะ ว
จึงอาจสรุปได้ดังนี้
1. a ใช้นำหน้านามเอกพจน์ที่ออกเสียงแรกด้วยพยัญชนะ ดังนี้
a shoe
a European
a car
a useful tool
a cow a ewe
a university
a union
2. ใช้ “an” นำหน้านามซึ่งตามหลังมา และนามนั้นออกเสียงเป็นเสียงสระ (เสียงสระคือเสียงที่เปล่งออกมาเป็นเสียง “ออ” เช่น an accident an hour
an egg
an honour
an orange
an honest man
an interesting book
an heir
an S. an M.A.
3. กฎของ Articles มี 3 ประการ คือ
1. ห้ามใช้ “the” กับนามพหูพจน์ และนามนับไม่ได้ เมื่อกล่าวถึงสิ่งต่างๆ โดยทั่วไปเช่น A church is usually cool
2. ห้ามใช้นามนับได้กับเอกพจน์ โดยไม่มี articles เช่น the book, a book แต่ไม่ใช่ book
3. ใช้ a หรือ an นำหน้าอาชีพ หรืองานบุคคล เช่น She is a doctor (ใช้ she is doctor) ไม่ได้
4. การใช้ articles
4.1 การใช้ indefinite articles (a/an)
1) ใช้ในความหมาย “หนึ่ง” หรือ “any” เช่น
He has a brother
2) ใช้ในการบอกหน่วยการวัด a, an มีความหมาย = ต่อ
He drove the car at 100 miles an hour
This Thai silk costs two hundred baht a yard
3) ใช้นำหน้า dozen, hundred, thousand, million, billion
I bought a dozen book
A hundred cows were in the field
4) ใช้นำหน้านามที่บอกอาชีพ การค้า ศาสนา เป็นต้น
She is a doctor
She is an official in the bank
She is a Buddhist
แต่ถ้านามนั้นบ่งถึงตำแหน่ง หรือสำนักงานซึ่งกำหนดให้ผู้ดำรงตำแหน่งมีเพียงครั้งละผู้เดียวไม่ต้องใช้ a/an
The made him Prime Minister
Kanittha was Professor of Development Education
ไม่ต้องใช้ a/an กับคำนามที่บอกยศ (rank หรือ title)
My friend gained the rank of Coronel
5). ใช้ a, an เมื่อเป็นการอ้างถึงบุคคลที่เรารู้จักแต่เพียงชื่อ
A Mr. Johnson telephoned you this morning
(ใช้ a แสดงว่าไม่ทราบว่าเขาเป็นใคร แต่เขาบอกว่าชื่อ Mr. Johnson
6) ใช้ a, an กับนามที่ซ่อนนามตัวหน้า (noun in apposition) เมื่อสิ่งนั้นหรือคนนั้นเป็นสิ่งที่ไม่คุ้นเคย
Sunthhornphoo is Thai poet
Daotho, a small village in Chiangmai
7). ใช้ a/an กับประโยคอุทานที่ขึ้นต้นด้วย What
What a beaufiful girl she is !
What an ugly man he is !
แต่ถ้าประโยคอุทานที่ขึ้นต้นด้วย what นั้น ตามด้วยนามนับไม่ได้ หรือนามพหูพจน์ไม่ต้องใช้ a/an นำหน้านาม
What + นามนับไม่ได้ + S+V
ตัวอย่าง “What lovely flowers they are!
8) ใช้ a/an กับวลีต่อไปนี้
ตัวอย่าง It’s a pity that she can’t come
He wants to keep this a secret
as a rule: to be in a hurry
to be in a good/bad temper
to tell a lie: all of a sudden
It’s a shame to do that : to take an interest in
to take a pride in: to take a dislike to
to make a fool of oneself : to be in a position to
to have a mind to
to have a chance : to have an opportunity to
at a discount/premium : on an average
a short time ago
นอกจากนี้ ยังใช้ a/an กับความเจ็บไข้ เช่น
To have a headache/ a pain/ a cold/ a cough
แต่ to have toothache/earache/rheumatism/influenza
9) ใช้กับโครงสร้างต่อไปนี้
such a : quite a: many a : rather a
Many a letter has passed my desk since last year
Mana is quite a good boy
He is rather a bad temper man
It’s such a nice day!
4.2 การใช้ Definite article (the)
ใช้ the นำหน้านามได้ที่ทั้งเป็นนามเอกพจน์ และพหูพจน์ และนามนับได้ หรือนามนับไม่ได้ โดยมีหลักเกณฑ์ดังนี้
1) ใช้ the นำหน้านามซึ่งมีความหมายเฉพาะ โดยดูจาก that clause
This is the book that I bought for you
2) ใช้ the ในความหมายมีสิ่งเดียว
The sun rises in the east and sets in the west
The world : the equator : the universe
3) ชื่อเรือต่างๆ รถไฟ เครื่องบิน
The Queen May : The Comet
4) ชื่อที่เกี่ยวกับอาณาบริเวณภูมิศาสตร์
เราใช้ the กับคำว่า country, sea, seaside และ mountain แม้ว่าเราจะไม่ได้ชี้เฉพาะว่าเป็นทะเลใด หรือภูเขาแห่งไหน
I like to live in the country
I love the mountain, but I hate the sea
5) ชื่อสถานที่ เรามักใช้ the กับชื่อสถานที่ต่อไปนี้
แม่น้ำ the Chaopraya
มหาสมุทร the Pacific
อ่าว the Gulf of Thailand
ทะเลทราย the Sahara
ภูมิภาค the Middle East, the Midwest
โรงแรม the Oriental Hotel
สถาบัน the Midland Bank
โรงละคร the Playhouse
ชื่อร้าน the Central Department Store
ทะเล the Red Sea
หมู่เกาะ the Philippines (เกาะเดียวไม่ใช้ the)
เทือกเขา the Himalayas (ภูเขาเดียวไม่ใช้ the)
โรงภาพยนตร์ the Lido
6. ใช้กับหนังสือต่างๆ เข่น The Thairath, The Bangkok Post
7. ใช้กับชื่อครอบครัว เช่น The Smiths
8. ใช้ the กับสิ่งที่ได้กล่าวถึงมาแล้วครั้งหนึ่ง (ถ้ากล่าวถึงครั้งแรกให้ใช้ a/an
9. ใช้ the นำหน้านามซึ่งขยายด้วยบุพบทวลี เฃ่น the battle of Tungchang, the map of Bangkok
10. ใช้ the กับลำดับที่ในตำแหน่ง เช่น Queen Elizabeth the Second
11. ใช้ the นำหน้า common noun (นามที่ใช้เรียกชื่อทั่วๆ ไป) ที่ตามด้วยชื่อเฉพาะ ซึ่งมาขยาย common noun เช่น the planet Mar. the poet Sunthornpoo
นอกจากนี้ คำนามที่บอกเกี่ยวกับอาชีพ หรือการค้า และอยู่หลังชื่อเฉพาะให้ใช้ the นำหน้า เช่น Tawee, the bankder, Suda, the Personal Manager
12. ใช้ the กับชื่อประเทศที่มีคำว่า Union, United อยู่ หรือขึ้นต้นด้วย Repulbic, Kingdom รวมทั้งชื่อประเทศที่เป็นพหูพจน์ เช่น The United Kingdom, the Netherlands
และในกรณี common noun ซึ่งตามหลังชื่อทางภูมิศาสตร์ได้ถูกละไว้ ให้ใช้ the + ชื่อทางภูมิศาสตร์ นั้น The Sahara (ละ desert)
13 ช้ the กับชื่อของเครื่องดนตรีที่ใช้ในความหมายทั่วๆ ไป เช่น Preeya plays the piano. Kalong plays the ranard
14 ใช้ the นำหน้าคำคุณศัพท์ขั้สุดที่ขยายนาม เช่น This is the oldest person
15 ใฃ้ the หน้าคุณศัพท์ที่ใช้เป็นคำนาม หมายถึงสิ่งนั้นทั้งหมด และเป็นพหูพจน์ เช่น the rich, the poor, the brave
16 ใช้ the ในสำนวนที่เป็นการเปรียบเทียบขั้นกว่า 2 จำนวน
The harder you work, the more you will be paid
The more he gets, the more he wants
4.3 การไม่ใช้ Article
1. นำคำนาม ซึ่งใช้ในความหมายทั่วๆ ไป เช่น Life is very hard for some people
2. หน้าคำนามประเภท material ในความหมายทั่วๆ ไป เช่น Butter is made from cream
3. หน้าคำนามพหูพจน์ในความหมายทั่วๆ ไป เช่น Books are my best friends
4. หน้าคำนามที่เป็นชื่อมื้ออาหารทั่วๆ ไป เช่น Come to dinner/ breakfast/ lunch/ tea
5. หน้าชื่อเฉพาะ I walked in Hyde Park, Do you know the Regent Street?
6. หน้าทะเลสาป (Lake) แหลม (Cape) ภูเขา (mount) ยกเว้นเมื่อคำเหล่านี้มีคำว่า of ตามหลัง เช่น the lake of Lucene, the Cape of good hope
7.หน้าชื่อตำแหน่งตามด้วยชื่อเฉพาะ เช่น King George, Doctor Amnuay
8. ชื่อภาษา และชื่อวิชาต่างๆ เช่น She speaks French
9. ชื่อ วิทยุและโทรทัศน์ในความหมายทั่วๆ ไป
10. ไม่ใช้ article กับ Man หรือ Woman
11 สำนวนต่างๆ ที่ละ article เช่น go to school to stay at home. To be out of doors. The men work by day but not by night. He is indebt/ in trouble. At any break/sunset He did the work for love, not for money
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)