วันอังคารที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2555

กริยา3ช่อง


คำกริยา 3 ช่องคืออะไรเหรอ?
มันก็คือ กริยาตัวเดียว ที่สามารถแปลงร่างได้สามตัว ทำให้คนเรียนปวดหัวเล่น ๆ แค่นั้นเอง ไม่เชื่อก็ลองดูตัวอย่างที่เอามาให้ดูสิ ทำไมต้องมีถึงสามช่องก็ไม่รู้เน๊อะ ช่องเดียวก็จำไม่หมดอยู่แล้ว
แต่ความจริงแล้วมันมีตั้ง 5 ช่องนะ ไม่เชื่อก็ดูตัวอย่าง
gogoesgoingwentgone
ตัวที่หนึ่งคือกริยาเดิมๆ เรียกว่าช่อง 1 ตัวต่อมาเติม s ตัวต่อมาเติม ing และช่อง 2 ช่อง 3 ตามลำดับ
แต่ว่าการเติม s และ ing นั้นมีหลักการอยู่จึงไม่รวมอยู่ในนี้ ไว้เรียนเรื่อง Tense จะรู้เอง
สาเหตุที่มีสามช่องก็คือว่า คำกริยาเหล่านี้มันเกี่ยวเนื่องกับนำไปใช้ เมื่อเรียนรู้เรื่อง Tense ทั้ง 12 จะได้เข้าใจง่ายขึ้น เขาก็เลยนำมาจัดเป็นหมวดหมู่ให้ได้เลือกใช้ง่าย ๆ สำหรับคนที่เรียนหลักภาษา
ความจริงแล้ว กริยา 3 ช่องมีเยอะมาก เข้าร้านหนังสือก็มีขายเกลี่อน แต่ไม่ต้องซื้อหรอก ในเบื้องต้นศึกษาจากที่นี่ก่อนก็เพียงพอแล้ว
กริยา 3 ช่องมี 2 ประเภทนะครับ คือ ปกติ (regular) และ อปกติ (irregular)
1. Regular Verbs กริยาปกติ คือ มันไม่เปลี่ยนรูปร่างให้ปวดหัว เพียงแค่ช่องที่ สอง กับช่องที่ 3 เติม ed ต่อท้ายแค่นั้น
2. Irregular Verbs กริยาอปกติ คือ มีการเปลี่ยนรูปร่างให้ปวดเศียรเวียนเกล้าเล่นๆ เพราะ ช่องหนึ่ง สอง สาม ไม่เหมือนกัน หรือบางทีมีสองช่องที่เหมือนกัน หรือบางทีเหมือนกันทั้งสามช่องก็มี ไม่มีกฎเกณฑ์อะไรให้จำเลย อันนี้ก็ต้องอาศัย การอ่านหนังสือภาษาอังกฤษบ่อย ๆ จะจำได้เอง เพราะจะเห็นคำเดิมๆ ซ้ำไปซ้ำมา ด้านล่างคือตัวอย่างพอเป็นพิธีนะครับ
กริยาอปกติ (Irregular Verbs) ที่ใช้บ่อย 
PresentPast SimplePast Participleความหมาย
be(is,am,are)was,werebeenเป็น,อยู่,คือ
bearborebornถือ,เกิด
becomebecamebecomeกลายเป็น
beginbeganbegunเริ่มต้น
bendbentbentโค้ง งอ
betbetbetพนัน
bitebitbitten (or bit)กัด ขบ ฉีก
bleedbledbledเลือดออก
blowblewblownพัด เป่า ตี
bringbroughtbroughtนำมา เอามา
กริยาปกติ (Regular Verbs) ที่ใช้บ่อย 
PresentPast SimplePast Participleความหมาย
allowallowedallowedอนุญาต
arrivearrivedarrivedมาถึง ไปถึง
borrowborrowedborrowedยิม
callcalledcalledเรียก
carrycarriedcarriedถืือ
cleancleanedcleanedทำความสะอาด
closeclosedclosedปิด
crycriedcriedร้องไห้
drydrieddriedทำให้แห้ง
endendedendedจบ สิ้นสุด
explainexplainedexplainอธิบาย
ค่อยๆ ศึกษาทำความเข้าใจนะครับ อยากเก่งต้องขยันอย่างเีดียว

8 ความคิดเห็น: